Winnie The Pooh Glitter Winnie The Pooh Glitter

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6 วันศุกร์ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  เทคนิค คือ จัให้เห็นเป็นรูปธรรม
นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง บทบาทสมมุติ การประกอบอาหาร ปริศนาคำทาย

-การนับเลข 1-10
    เลข 1 = เสาธง           เลข 6 = หัวลง
    เลข 2 = คอเป็ด          เลข 7 = ไม้เท้า
    เลข 3 = สองหยัก       เลข 8 = ไข่แฝด
    เลข 4 = เก้าอี้             เลข 9 = หัวขึ้น
    เลข 5 = มีหลังคา       เลข 10 =  มี 1 กับ 0
-นับเป็นคำคล้องจอง
-ติดตัวเลขรอบๆห้อง
-นับจำนวนต่างๆได้
-ทำแผนภูมิเพื่อให้เห็นชัดเจน
-การจับออก 1:1

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
     ตัดกระดาษ 1.5 x 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น






                                  



ทักษะ


สถานที่ที่นักศึกษากลุ่ม 102 อยากไปมากที่สุดในวันหยุด

สรุปผล คือ สวนรถไฟ 3   คน
                  เกาะ         10  คน
                  น้ำตก        3   คน

นำเสนอวิจัย เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์
โดย  นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว
สรุป
      จัดการเรียนรู้แบบเรียน + เล่น = สนุกและเกิดการเรียนรู้
อิกทั้งเพื่อเป็นการสืบสารวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจในเรื่อง การนับ รู้จักตัวเลข เลข1-30 
เลขคู่-เลขคี่  โดยผ่านการละเล่นต่างๆ เช่น รีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย เป็นต้น
ซึ่งมีวิธีการประเมินโดย
- ศึกษากลุ่มเด็กว่าต้องการสิ่งใด
- วัตถุประสงค์ต้องคำนึงถึงอายุเด็ก
- วางแผนเลือกรูปแบบให้เหมาะสม
- การสอนบูรณาการให้ได้องค์รวม
เริ่มจากสิ่งที่ ง่าย >> ยาก  รูปธรรม >> นามธรรม

วิจัย เรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่น
โดย นางสาวสุธินี โนนบริบูรณ์
สรุป
      จากการวิจัยใช้กับเด็ก ชั้นอนุบาล 2 ทำทั้งหมด 24 กิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของ
รูปทรง ขนาด ชนิด สี  ซึ่งสื่อนั้นจะใช้จากวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น กะลามะพร้าว ไม้สัก ไม้ประดู่ กระบอกไม่ไผ่
ตัวอย่าง  ทำไม้บล็อกจากไม้ประดู่ 
               การเรียงลำดับกระบอกไม้ไผ่ ใหญ่ > กลาง > เล็ก
ผลการวิจัย คือ เด็กที่ได้ร่วมกิจกรรมการวิจัยจะมีพัตนาการดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทำกิจกรรม


วิธีการสอน   
     ใช้การสอบแบบบรรยายประกอบกับโปรแกรมMicrosoft Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน 
          ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินสภาพในห้องเรียน
      รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้  อากาศภายในห้องค่อนข้างร้อน
ประเมิน
  ตนเอง  -  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่การแต่งกายผิดระเบียบเนื่องจากใส่ชุดพละเข้าเรียน
  เพื่อน   -  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาทำให้เสียสมาธิในการเรียน
  อาจารย์ - เข้าสอนตรงเวลา การแต่งกายเหมาะสมสุภาพเรียบร้อย รูปแบบการสอนการสอนเข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ มีการสอดแทรกคุณธรรมต่างๆ และการดำเนินชีวิต



หมายเหตุ : คัดลอกจากนางสาว รัตนาภรณ์  คงกระพันธ์   เนื่องจาก ไม่ได้เข้าเรียน

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5วันศุกร์ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่5




ความรู้ที่ได้รับ


 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 6 สาระ

  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
                จำนวน การดำเนินการของจำนวน การรวมและการแยกกลุ่ม  สาระที่ 2:  การวัด
                 ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา  สาระที่ 3: เรขาคณิต
                 ตําแหนง ทิศทางระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิต สองมิติ  สาระที่ 4: พีชคณิต 
                แบบรูปและความสัมพันธ   สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
                การเก็บรวบรวมขอมูลและการนําเสนอ  สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการางคณิตศาสตร์ 
           การแกปญหา การใหเหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตรและการนําเสนอ การเชื่อมโยงความรู ตาง ๆ ทางคณิตศาสตรและเชื่อมโยงคณิตศาสตรกับศาสตรอื่น ๆ และมีความคิดริเริ่ม สรางสรรค



        




ทักษะ   อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความตามที่ได้รับมอบหมาย เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษานำป้ายชื่อที่ทำมาติดบนกระดานในช่องที่มาเรียนโดยจะแยกช่องออกเป็น 3 ช่อง ช่องแรก สมาชิกทั้งหมด ช่อง 2 คนที่มาโรงเรียน ช่องที่ 3 คนที่ไม่มาโรงเรียน









วิธีสอน   บรรยายโดยมี Power point ประกอบการบรรยาย มีการถามและตอบคำถามก่อนเข้าสู่บทเรียนพร้อมมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ขณะเรียน







ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดบรรยากาศดีเหมาะกับการเรียน จำนวนโต๊ะ เก้าอี้เพียงพอกับนักศึกษา

ประเมินตนเอง

มีความพร้อมก่อนเข้าเรียนดี และตั้งใจเรียนตอบคำถามทุกครั้งไม่พูดคุยขณะเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถามและสนใจในการเรียน

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย









วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4 วันพุธที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน




ความรู้ที่ได้รับ

1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
-ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ

     ทักษะพื้นฐาน

1.การสังเกต (Observation)
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2.จำแนกประเภท(Classifying)
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง หาความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ

4.การจัดลำดับ(Ordering)
   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5.การวัด(Measurement)
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
           
                

6.การนับ(Counting)
   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

             
   
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

   1.การนับ
   2.ตัวเลข
   3.การจับคู่
   4.การจัดประเภท
   5.การเปรียบเทียบ
   6.รูปร่างและพื้นที่
   7.การวัด
   8.การจัดลำดับ


หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง 
-การสอนให้สอดคล้องกับใช้ชีวิตประจำวัน
-เปิดโอกาศให้ค้นพบด้วยตัวเอง




เพลง สวัสดียามเช้า

                                                                ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
                                                        อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                                                        กินอาหารของดีมีทั่ว
                                                        หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

                                                                 สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
                                                        ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

                                         หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า






วิธีการสอน


   -มีแบบฝึกหัดให้ทำก่อนเรียน
   -การอภิปรายถาม ตอบ
   -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างตรงจุดและรอบด้าน

บรรยากาศในห้องเรียน
      พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมิน


ตนเอง
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม 
เพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน
แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน มีวิธีการสอนที่สนุกสนาน