Winnie The Pooh Glitter Winnie The Pooh Glitter

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9 วันศุกร์ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558



                            บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

การสอนแบบสมองเป็นฐาน  (Brain  Based  Learning)

             BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน( Brain  Based  Learning : BBL. ) 
 ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในการบริหารจัดการศึกษาได้ดังนี้
                1.  ในการเรียนการสอน เรียนรู้จากง่ายไปหายาก มีลำดับและเชื่อมโยงกันเสมอ
                2.  วิธีการเรียนต้องสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
                3.  เน้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และใช้จินตนาการพร้อมให้โอกาสแสดงความคิด                        เห็น
                4.  ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ควรจะฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติดังนี้
                                4.1  ฝึกสังเกต
                                4.2  ฝึกบันทึก
                                4.3  ฝึกการนำเสนอ
                                4.4  ฝึกการฟัง
                                4 .5  ฝึกการอ่าน
                                4.6  ฝึกการตั้งคำถาม
                                4.7  ฝึกการเชื่อมโยงทางความคิด
                                4.8  ฝึกการเขียนและเรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือ


รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่

วิธีการจัดการเรียนการสอน
เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู 
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

การจัดสิ่งแวดล้อม
ห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) นั่งสบาย บรรยากาศเหมือนบ้าน มีเครื่องใช้อุปกรณ์ที่จัดอย่างมีระเบียบ ของใช้จะมีขนาดเหมาะสมกับเด็ก ติดกระดาน    ในระดับที่เด็กสามารถใช้งานได้ มีพื้นที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบนพื้นได้ ชั้นวางของมีความสูงในระดับที่เด็กสามารถหยิบใช้งานได้

บทบาทครู
1.จัดสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ (อุปกรณ์4หมวด บรรยากาศ บุคคล)
2. เชื่อมโยงเด็กกับอุปกรณ์ โดยสาธิตการใช้อุปกรณ์
3. มีความรักเด็ก ความรักเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิต
4. ยอมรับนับถือเด็ก ให้อิสระในการเลือก คิด ทำ
5. ให้เด็กศึกษาค้นพบด้วยตนเอง
6.ไม่ตำหนิ ทำโทษ หรือให้รางวัล ถ้าเด็กทำสำเร็จจะเห็นคุณค่าในตน และเป็นพลังในการที่จะเรียนรู้ต่อไป
7.สังเกตพฤติกรรมเด็ก บันทึกข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
8.พัฒนาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ถึงขีดสุดของศักยภาพของแต่ละบุคคล
9. เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา และ จิต ใจ
10. พบปะผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นระยะ



กรอบมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 2 : การวัด
   - ความยาวของสิ่งของต่างๆ เป็นการหาตามแนวนอน
   - การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
   - การวัดควายาว ความสูง ของสิ่งของอาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยมาตรฐาน
   - ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งของต่างๆ
   - เรียงลำดับความยาว ความสูง จากมาก-น้อย จากน้อย-มาก
   - การชั่งน้ำหนัก ปริมามาตรน้อยกว่า มากกว่า เท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
   - การตวง
   - ตัวเลขบนพันธบัตร
   - เวลาในแต่ละวัน
   - เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น วันนี้ พรุ่งนี้
   - ใน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ 


สาระที่ 3 : เรขาคณิต


   - ข้างบน ข้างล่าง เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะของสิ่งของต่างๆ
   - การจำแนก วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

สาระที่ 4 : พีชคณิต
   - รูปแบบความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์
ข้อมูลความน่าจะเป็น
    - เก็บข้อมูลจากวิธีการสังเกตุ และ สอบถาม

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     - ครอบครัวแม่เป็ดมี 6 ตัว หายไป 2 ตัว เหลือกี่ตัว
                      6 - 2 = 4
        ครอบครัวเป็ดเหลือ 4 ตัว






 ทักษะ

การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
   
    เลขที่ 22  เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                

    เลขที่ 24  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง

                                                                               

                                                                                    เพลง                        
                                มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่
                 มาลีตกใจร้องให้กลัวหมา
                    เห็นแมวตัวน้อยค่อยๆก้าวมา
                    แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว


วิธีการสอน  

     เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน   ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


ประเมินสภาพในห้องเรียน

      รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้  อากาศภายในห้องค่อนข้างร้อน


ประเมิน

  ตนเอง  -  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน 
  เพื่อน   -  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาทำให้เสียสมาธิในการเรียน
  อาจารย์ - เข้าสอนตรงเวลา การแต่งกายเหมาะสมสุภาพเรียบร้อย รูปแบบการสอนการสอนเข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ 








บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 06 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8



ความรู้ที่ได้รับ



  การจัดประสบการณ์แบบโครงการ

  การจัดการเรียนการสอนซึ่งให้ความสำคัญกับเด็กให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ 
    
การนำไปประยุกต์ใช้ 
   ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้สัมผัส ได้เรียนรู้จากสถานที่จริง มีความอดทน รอคอยการสร้างองค์ความรู้ของเด็กมากกว่าจะบอกคำตอบเด็กทันที


การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน


     การออกแบบกระบวนการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาสมองของเด็ก เช่น ความแตกต่างระหว่างสมองของชายและหญิง มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสมองชายและหญิง จะพบส่วนที่แตกต่างไม่กี่ส่วนเท่านั้น


การนำไปประยุกต์ใช้
    ต้องให้ความสนใจต่อตัวเด็กเป็นรายบุคคล กระตุ้นให้เด็กรื้อฟื้นความทรงจำในอดีต เข้ามาเชื่อมโยงกับสิ่งที่พบเห็นในปัจจุบัน 

การจัดประสบการณ์ แบบSTEM

      เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ละวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กัับผู้เรียน
S - Science-วิทยาศาสตร์
     ช่วยให้เรามีทักษะพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล
T-Technology-เทคโนโลยี
      วิทยาการมี่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือ สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
E-Engineering-วิศวกรรมศาสตร์
       ทักษะกระบวนการออกแบบ การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบที่ใช้งานได้จริง
M-Mathematic-คณิตศาสตร์
       วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวน

การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่

      เป็นวิธีการนำการสอนเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เลือกเอง ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ 

การนำไปประยุกต์ใช้
     ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำ โดยเตรียมการสอนและสิ่งเเวดล้อมอย่างมีความหมายให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจเอง ไม่ต้องมีคำติชม การให้รางวัล และการลงโทษ

การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

       เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้อย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลกหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อพัฒนาศักยภาพทั้งตัว







ทักษะ

นำเสนอบทความ
โดย นาวสาววราภรณ์ แทนคำ เลขที่ 19
เรื่อง ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ในช่วงปีแรกของชีวิตของลูก







วิธีการสอน

อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา 





ประเมิน

ตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

เพื่อน

เข้าเรียนตรงเวลาทุกคน  ตั้งใจเรียน
อาจารย์

แต่งกายเรียบร้อย  พูดจาไพเราะ เสียงดังชัดเจน







บันทึกอนุทินครังที่7 วันศุกร์ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่7



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

การจัดมุมประสบการณ์ หรือมุมบทบาทสมมติ ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ คือ ของเล่นสามารถตรวจสอบได้ทันที และเล่นอย่างเป็นขั้นตอน เน้น การใช้ประสาทสัมผัส    
           
การจัดห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่
 - จัดจากง่าย ไป ยาก
 - ตรวจสอบได้
 - ของเป็นรูปทรง
 - เน้นการสัมผัส
 - การจัดเป็นระเบียบ

การสอนโดยใช้ตารางเมกทริกซ์
  - การสังเคราะห์ อ่านไม่ออกแต่สามารถบอกได้ เช่น การใช้ภาพ สัญลักษณ์
  - สอนแบบสาธิต เช่น แผนที่

รูปแบบการจัดประสบการณ์
    การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
    การจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
    การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
    การจัดประสบการณ์ แบบSTEM
    การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
    การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง







ทักษะ
 นำเสนอโทรทัศน์ครู
โดย นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น

สรุป  
   เป็นการจัดกิจกรรมเน้นการจัดแบบใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ตา - ดู
หู  - ฟังมีกระบอกเสียงให้เด็กได้ฟัง
สัมผัส - ปิดตาและให้ด็กสัมผัสสิ่งต่าง
ดม - จมูกดมกลิ่น
ลิ้น - ชิมน้ำรสชาติต่างๆ
การทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในขั้นต่อไป

นำเสนอโทรทัศน์ครู
โดย นางสาววัชรี วงศ์สะอาด
สรุป
    เรียนรู้เรื่องผลไม้ ให้เด็กได้ชิมรสของผลไม้ เล่นจ้ำจี้ผลไม้ และนำเด็กไปทัศนศีกษา แต่ก่อนไปมีการทำข้อตกลงก่อนไปโดยเสนอว่ามีข้อตกลงใดบ้าง เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่ค้า
ตัวอย่างการเรียนรู้ เมื่อเจอแม่ค้าสวัสดี ถามว่าผลไม้นี้ขายอย่าไร หากเป็นกิโลก็จะให้เด็กช่ายกันนับว่าส้ม 1 กิโลกรัม เข็มกิโลจะเป็นอย่างไร และจะได้ทั้งหมดกี่ผลจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่อง รูปทรง การวัด การนับ การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบนอกสถานที่







วิธีการสอน
 ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามและระดมความคิด


ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  
 ตนเอง
    ขาดความรับผิดชอบเนื่องด้วยไม่ได้นำป้ายชื่อไปเรียน

 เพื่อน
     มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ 

 อาจารย์
     อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ