Winnie The Pooh Glitter Winnie The Pooh Glitter

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16






สรุปการเรียนรู้



รายวิชา การจัดประสบการณ์คณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Mathematic Experienes Management for Early Childhood

ความรู้ที่ได้รับ 


ทักษะ
      

1. ทักษะด้านเทคโนโลยี 
การจัดทำบันทึกอนุทิน โดยใช้www.blogger.com
การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยใช้โปรแกรม Microsoft  Powerpiont
การสืบค้นขอมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเรียนการสอน


2. ทักษะด้านความคิด
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล 
การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ 
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยง คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ  
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
การวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการสรุปผล ข้อมูล


3. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
ทำงานร่วมกับผู้อื่ได้และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้
รับผิดชอบต่อนส่วนรวมและตนเอง
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

4. ทักษะการจัดการเรียนรู้
การนำเข้าสู่บทเรียน  กิจกรรมเพื่อเป็นการเร้าความสนใจและสร้างความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่
การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และครอบคลุมเนื้อหา
การสร้างแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

        




เทคนิค


เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
 
   1.ใช้อุปกรณ์การสอนเช่น รูปภาพ
   2.ให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับบทเรียน
   3.ตั้งปัญหา ทายปัญหาเพื่อเร้าความสนใจ
   5.สนทนาซักถามถึงเรื่องต่างๆ
   6.ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่
   7.ร้องเพลงซึ่งเป็นเพลงที่เกี่ยวข้อง
   9.สาธิต ซึ่งอาจจะสาธิตโดยครู
   10.ทำสิ่งที่แปลกไปจากเดิม


เทคนิคการอธิบาย
   1.เวลาที่ใช้ในการอธิบายไม่นานเกินควร
   2.ภาษาที่ใช้ง่ายแก่การเข้าใจ
   3.สื่อการสอน หรือตัวอย่างน่าสนใจ
   4.ครอบครุมใจความสำคัญได้ครบถ้วน
   5.การอธิบายเริ่มจากเรื่องที่เข้าใจง่ายไปหาเรื่องยาก
   6.ท่าทางในการอธิบายน่าสนใจ
   7..มีการสรุปผลการอธิบายด้วย

เทคนิคการเร้าความสนใจ
   1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน เช่น การมอง การยิ้ม 
   2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง ถ้อยคำที่ครูใช้และน้ำเสียงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน ควรมีการ       เน้นหนักเบาในคำพูด
   3.การเน้นจุดสำคัญของเรื่องและการเว้นระยะการพูดหรืออธิบายครูควรฝึกเน้นคำพูด สำเนียง จังหวะ

เทคนิคการใช้คำถาม
  1. ถามด้วยความมั่นใจ
  2. ถามอย่างกลมกลืน
  3. ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
  4. ให้นักเรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน
  5. การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ
  6. ใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
  7. การใช้กิรกยา ท่าทาง เสียงในการประกอบการถาม
  8. การใช้คำถามรุกหมายถึง การใช้คำถามต่อเนื่อง

เทคนิคการใช้อุปกรณ์การสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ใช้อย่างคล่องแคล่ว
  2. แสดงอุปกรณ์ให้เห็นได้ชัดทั่วห้อง
  3. ควรหาที่ตั้ง วาง แขวนอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่
  4. ควรใช้ไม้ยาว ชี้แผนภูมิ แผนที่ กระดารดำ
  5. ควรนำอุปกรณ์มาวางเรียงกันไว้เป็นลำดับ
  6. ควรใช้เครื่องมือประกอบการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม
  7. ควรมีการเตรียมผู้เรียนล่วงหน้าก่อนการใช้อุปกรณ์
  8. พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม
  9. ควรใช้อุปกรณ์ให้คุ้มค่ากับที่ได้เตรียมมา
  10. ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์บางชนิด


เทคนิคการใช้กระดานดำ
  1. ครูควรทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่สอน
  2. ในการเขียนกระดานดำควรเขียนจากซ้ายมือไปขวามือ
  3. หัวข้อเรื่องควรเขียนไว้ตรงกลางกระดานดำ
  4. ขณะเขียนต้องอยู่ห่างกระดานดำพอประมาณ แขนเหยียดตรง 
  5. ในการเขียนตัวหนังสือ ต้องให้เป็นเป็นเส้นตรงไม่คดเคี้ยว
  6. ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนกระดานไม่ควรยืนบัง
  7. เขียนคำตอบลงนกระดานเพื่อเป็นการเสริมกำลังใจ
  8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเขียนกระดานดำ
  9. การลบกระดานต้องลบจากบนลงล่าง





    

คุณธรรมจริยธรรม



   1.ตรงต่อเวลา
   2. แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบตามกฏของมหาวิทยาลัย
   3.เคารพในสิทธิของผู้อื่น และ รับฟังความคิดเห็น 
   4.มีความเสียสละต่อส่วนรวม
   5.ซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย














วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15 วันจันทร์ที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่15




ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์มอบหมายให้ทำแบบทดสอบ จำนวน 13 ข้อ ภายในเวลา  3  ชั่วโมง
โดยมีข้อคำถามดังนี้
1. พัฒนาการหมายถึงอะไร 
2. การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร 
3. หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร 
4. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร 
5. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร 
6. การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร 
7. สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8. ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง 
9. ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์ 
10. ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11. ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12. ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13. จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง


                                       




วิธีการสอน
มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเองในการตอบคำถาม



ประเมิน

ห้องเรียน

สะอาด มีพื้นที่เพียงพอในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน

ตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายมอบหมายงาน

เพื่อน

เข้าเรียนตรงเวลาทุกคน  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

อาจารย์

แต่งกายเรียบร้อย  พูดจาไพเราะ เสียงดังชัดเจน








บันทึกอนุทินครั้งที่14 วันพุธที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่14 




ความรู้ที่ได้รับ


การนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ หน่วย ดอกไม้

สื่อที่ใช้


เพลง

ดอกไม้มีนานาพันธุ์
 มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง
 ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง
 เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอยๆ





อาจารย์เลือกตัวแทนนักศึกษาให้สอนหน้าชั้นเรียนโดยการใช้ขนม  คือ นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
โดยให้เด็กทายว่าขนมมีทั้งหมดกี่ชิ้น  แล้วก็นับจำนวนขนมทั้งหมดทีละชิ้นพร้อมกัน โดยใช้วิธีการนับแบบเลขฐานสิบ








ทักษะ

วิธีการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม
การร้องเพลง  การแต่งคำคล้องจอง ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน
การตอบคำถามเพื่อประมวลความรู้


วิธีการสอน

ให้นักศึกษาได้นำเสนอความคิดของตนเอง  อาจารย์จะคอยแนะนำเทคนิควิธีการที่ถูกต้อง
มีการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะ ถึงความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอน


ประเมิน

  ตนเอง  

  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน 

  เพื่อน  

  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาทำให้เสียสมาธิในการเรียน

  อาจารย์ 

 เข้าสอนตรงเวลา การแต่งกายเหมาะสมสุภาพเรียบร้อย รูปแบบการสอนการสอนเข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ 












บันทึกอนุทินครั้งที่13วันพุธที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่13






ความรู้ที่ได้รับ



นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์


กิจกรรมเสริมประสบการณ์  หน่วย กล้วย

สื่อที่ใช้


           เพลง กล้วย
                  กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย 
             ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน
                    กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่ 
           ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
                     ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย


กิจกรรมเสริมประสบการณ์  หน่วย แตงโม

สื่อที่ใช้

                                   เพลงแตงโม
                          แตงโม แตงโม แตงโม
                         โอโฮ แตงโม ลูกใหญ่
                        เนื้อแดง เรียกว่า จินตหรา
                  เนื้อเหลือง นี่หนา เรียกว่า น้ำผึ้ง


กิจกรรมเสริมประสบการณ์  หน่วย ไก่

สื่อที่ใช้

                      เพลง ไก่ กระต๊าก กระต๊าก
                       ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
          ไก่ชนเดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
                      ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
          ไก่แจ้เดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก










ทักษะ
- นำเสนอการสอน เทคนิควิธีที่ทำให้การสอนมีความสนุกน่าสนใจ
- นำเอาเพลงมาร้องประกอบการสอนในแต่ละแผนการสอน
- การจัดที่นั่งให้เด็ก เพื่อที่เด็กจะได้มองเห็นและสะดวกต่อการสอน

วิธีสอน

มีการบรรยายและเขียนกระดานเพื่อให้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจ  ให้นักศึกษาได้ลองสอนตามแผนการจัดประสบการณืที่เตรียมมา และคอยให้คำชี้แนะ



ประเมิน



ตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

เพื่อน

เข้าเรียนตรงเวลาทุกคน  ตั้งใจเรียน


อาจารย์

แต่งกายเรียบร้อย  พูดจาไพเราะ เสียงดังชัดเจน









บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 วันศุกร์ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12




 
ความรู้ที่ได้รับ

 เขียนแผนผังความคิด และ แผนการจัดประสบการณ์


หมายเหตุ: รูปภาพจาก นางสาว รัตนาภรณ์   คงกระพันธ์




ทักษะ

เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กอนุบาล 1
 สรุป เด็กอนุบาลจะเรียนรู้ผ่านการเล่น การสอนต้องให้เด็กได้สัมผัสจริงและลงมือปฏิบัติจริง การทดสอบความเข้าใจจะใช้เกมมาวัดว่าเด็กเข้าใจหรืไม่ โดยจะใช้วิธีการสอนแบบซ้ำๆ

เลขที่4 นำเสนองานวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ตามแนวของมอนเตสเซอรี่
เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านประสาทสัมผัสเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่เป็นนามธรรม

เลขที่ 5 งานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จัประสบการณ์โดยใช้เกมการศ฿กษาเเละเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

สรุป การใช้แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาและเพลงดีกว่าแผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

เลขที่ 6
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การสังเกตและการจำแนก  การจัดประเภท และ
การจัดหมวดหมู่ 






วิธีการสอน
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะในการเขียนแผนผังความคิดและแผนการจัดประสบการณ์ และอธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอหน้าชั้นเรียนของนักศึกษา








ประเมินสภาพห้องเรียน


ห้องเรียนสะอาดเรีบยร้อย อุปกรณ์ในห้องเรียนใช้งานได้ดี

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่มีบางคนที่พูดคุยเสียงดังและไม่ค่อยฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนและปล่อยตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย







บันทึกอนุทินครั้งที่ 11 วันพุธที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11





ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน การแนะนำตัวและสมาชิกในกลุ่ม
วิธีการแต่งคำคล้องจอง นิทาน และปริศนาคำทาย








ทักษะ

การนำเสนอ งานที่ได้รับมอบหมาย คำคล้องจอง นิทาน และปริศนาคำทาย  ในสาระที่ 3 เราขาคณิต







วิธีการสอน

ให้นักศึกษานำเสนองานที่เตรียมมา และคอยแนะนำเทคนิควิธีการต่างๆให้นักศึกษานำไปปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น







ประเมิน



ห้องเรียน

สะอาด มีพื้นที่เพียงพอในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน

ตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานรวมทั้งนำเสนองานของตนเองและ ตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์

เพื่อน

เข้าเรียนตรงเวลาทุกคน  ตั้งใจเรียนและ รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย นำเสนองานทุกกลุ่ม

อาจารย์

แต่งกายเรียบร้อย  คอยแนะนำเทคนิคต่างๆให้นักศึกษา  พูดจาไพเราะ เสียงดังชัดเจน





บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558


                                     บันทึกอนุทินครั้งที่ 10




ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

อาจารย์มอบหมายงาน ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่ม
        แต่ง คำคล้องจอง
        นิทาน
        และปริศนาคำทาย

ตามสาระการเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
สาระที่ 1   จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่ 2    การวัด

สาระที่ 3   เรขาคณิต

สาระที่ 4   พีชคณิต

สาระที่ 5   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่ 6   ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

กลุ่มของดิฉันได้ สาระที่3 
 เรขาคณิต








วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9 วันศุกร์ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558



                            บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

การสอนแบบสมองเป็นฐาน  (Brain  Based  Learning)

             BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน( Brain  Based  Learning : BBL. ) 
 ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในการบริหารจัดการศึกษาได้ดังนี้
                1.  ในการเรียนการสอน เรียนรู้จากง่ายไปหายาก มีลำดับและเชื่อมโยงกันเสมอ
                2.  วิธีการเรียนต้องสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
                3.  เน้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และใช้จินตนาการพร้อมให้โอกาสแสดงความคิด                        เห็น
                4.  ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ควรจะฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติดังนี้
                                4.1  ฝึกสังเกต
                                4.2  ฝึกบันทึก
                                4.3  ฝึกการนำเสนอ
                                4.4  ฝึกการฟัง
                                4 .5  ฝึกการอ่าน
                                4.6  ฝึกการตั้งคำถาม
                                4.7  ฝึกการเชื่อมโยงทางความคิด
                                4.8  ฝึกการเขียนและเรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือ


รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่

วิธีการจัดการเรียนการสอน
เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู 
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

การจัดสิ่งแวดล้อม
ห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) นั่งสบาย บรรยากาศเหมือนบ้าน มีเครื่องใช้อุปกรณ์ที่จัดอย่างมีระเบียบ ของใช้จะมีขนาดเหมาะสมกับเด็ก ติดกระดาน    ในระดับที่เด็กสามารถใช้งานได้ มีพื้นที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบนพื้นได้ ชั้นวางของมีความสูงในระดับที่เด็กสามารถหยิบใช้งานได้

บทบาทครู
1.จัดสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ (อุปกรณ์4หมวด บรรยากาศ บุคคล)
2. เชื่อมโยงเด็กกับอุปกรณ์ โดยสาธิตการใช้อุปกรณ์
3. มีความรักเด็ก ความรักเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิต
4. ยอมรับนับถือเด็ก ให้อิสระในการเลือก คิด ทำ
5. ให้เด็กศึกษาค้นพบด้วยตนเอง
6.ไม่ตำหนิ ทำโทษ หรือให้รางวัล ถ้าเด็กทำสำเร็จจะเห็นคุณค่าในตน และเป็นพลังในการที่จะเรียนรู้ต่อไป
7.สังเกตพฤติกรรมเด็ก บันทึกข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
8.พัฒนาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ถึงขีดสุดของศักยภาพของแต่ละบุคคล
9. เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา และ จิต ใจ
10. พบปะผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นระยะ



กรอบมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 2 : การวัด
   - ความยาวของสิ่งของต่างๆ เป็นการหาตามแนวนอน
   - การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
   - การวัดควายาว ความสูง ของสิ่งของอาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยมาตรฐาน
   - ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า เท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งของต่างๆ
   - เรียงลำดับความยาว ความสูง จากมาก-น้อย จากน้อย-มาก
   - การชั่งน้ำหนัก ปริมามาตรน้อยกว่า มากกว่า เท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
   - การตวง
   - ตัวเลขบนพันธบัตร
   - เวลาในแต่ละวัน
   - เช้า สาย บ่าย เที่ยง เย็น วันนี้ พรุ่งนี้
   - ใน 1 สัปดาห์ มี 7 วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ 


สาระที่ 3 : เรขาคณิต


   - ข้างบน ข้างล่าง เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะของสิ่งของต่างๆ
   - การจำแนก วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม

สาระที่ 4 : พีชคณิต
   - รูปแบบความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์
ข้อมูลความน่าจะเป็น
    - เก็บข้อมูลจากวิธีการสังเกตุ และ สอบถาม

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     - ครอบครัวแม่เป็ดมี 6 ตัว หายไป 2 ตัว เหลือกี่ตัว
                      6 - 2 = 4
        ครอบครัวเป็ดเหลือ 4 ตัว






 ทักษะ

การนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
   
    เลขที่ 22  เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                

    เลขที่ 24  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง

                                                                               

                                                                                    เพลง                        
                                มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่
                 มาลีตกใจร้องให้กลัวหมา
                    เห็นแมวตัวน้อยค่อยๆก้าวมา
                    แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว


วิธีการสอน  

     เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน   ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


ประเมินสภาพในห้องเรียน

      รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้  อากาศภายในห้องค่อนข้างร้อน


ประเมิน

  ตนเอง  -  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน 
  เพื่อน   -  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่บางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลาทำให้เสียสมาธิในการเรียน
  อาจารย์ - เข้าสอนตรงเวลา การแต่งกายเหมาะสมสุภาพเรียบร้อย รูปแบบการสอนการสอนเข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ